ความสำคัญและพันธกิจ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลกเป็นวงกว้างและทวีความรุนแรงมากขึ้น องค์การสหประชาชาติ (UN) และประเทศสมาชิกจึงตั้งเป้าหมายและหาแนวทางในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโลกร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาและชะลอความรุนแรงที่กำลังก่อตัว ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนในกรอบการดำเนินงานระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และ อนุสัญญาความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเน้นเป้าหมายสำคัญในการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608

บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจ จึงมอบหมายให้คณะกรรมการและผู้บริหารมีบทบาทในการกำกับดูแล กำหนด และพัฒนานโยบายและแนวทางในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ผ่านนวัตกรรมกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และการดำเนินโครงการความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานขององค์กร เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายในระดับสากล ร่วมเป็นหนึ่งในองค์กรที่สนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย (UN Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรที่ยั่งยืน มุ่งไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย พร้อมกับรักษาสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนและมั่นคง

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

นักลงทุน/ผู้ถือหุ้น
ผู้บริโภค
พนักงาน
สังคมและชุมชน
คู่ค้า/เจ้าหนี้

เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ

เป้าหมาย
เป้าหมายระยะยาว
มุ่งสู่ความเป็นกลางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
ภายในปี 2593
เป้าหมายระยะสั้น
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยที่
ร้อยละ 1.5
ภายในปี 2567
เป้าหมายระยะสั้น
ลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและความร้อนต่อหน่วยการผลิตลง
ร้อยละ 1.5
ภายในปี 2567
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
3,280.58
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 2.15
ลดการใช้ไฟฟ้าและความร้อนลงได้
0.0019
จิกะจูลต่อหน่วยการผลิต
คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 0.15
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้สูงถึง
5,610,770
กิโลวัตต์ชั่วโมง ต่อปี
คิดเป็นมูลค่าพลังงานที่ประหยัดได้ 24.64 ล้านบาท
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
1,250.08
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

แนวทางการบริหารจัดการ

  1. กำหนดนโยบายและตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน ปี พ.ศ. 2593 สอดคล้องกับเป้าหมายในระดับสากล ในการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส
  2. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนงานและติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกและระดับท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืน ตลอดจนรายงานผลการดำเนินตามแผนงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน และคณะกรรมการบริษัท
  3. ประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมกำหนดมาตรการรองรับและแนวทางการดำเนินงานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
  4. ส่งเสริมพลังงานสะอาด ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ (ICHITAN SUNERGY) ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มของโรงงานอิชิตัน กรีน แฟคทอรี่ ตามแนวทางของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)
  5. สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อลดผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อม

จากความมุ่งมั่นในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะกรรมการบริษัทจึงตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 พร้อมทั้งมอบหมายให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน และผู้บริหารระดับสูง กำกับดูแล กำหนด และพัฒนานโยบายและแนวทางในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีคณะทำงานการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งทำหน้าที่ในการจัดทำแผนงานและติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลกและระดับท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ รวมถึงมีการรายงานผลการดำเนินตามแผนงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน และคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรอบด้าน เพื่อให้บริษัทฯ มีมาตรการพร้อมรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที โดยมีคณะทำงานบริหารความเสี่ยงซึ่งทำหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยงจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับคณะทำงานการพัฒนาที่ยั่งยืน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นรายไตรมาส

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้แบ่งแนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจกออกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) ภายใต้กรอบการดำเนินงานซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosure: TCFD) ผ่านโครงการและกิจกรรมสนับสนุน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต โครงการพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ (ICHITAN SUNERGY) และโครงการบริหารประสิทธิภาพการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว

แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการควบคุม ป้องกัน และลดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระบวนการผลิตที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งมั่นในการยกระดับการควบคุมคุณภาพอากาศบริเวณโดยรอบโรงงานอย่างเข้มงวด มีการติดตามตรวจวัด และจัดการคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามแนวทางของมาตรฐานสากล ISO14001:2015

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีระบบบำบัดอากาศแบบเปียก (Wet scrubber) เป็นระบบที่ใช้สำหรับบำบัดอากาศเสียจากกระบวนการผลิต เช่น มลพิษ ไอกรด ไอสารเคมี และฝุ่นจากอากาศ เป็นต้น โดยการใช้ของเหลวเพื่อดูดซับมลพิษออกจากอากาศ และ มี Packing Media เป็นตัวสร้างพื้นผิวในการจับกลิ่นให้มากขึ้น สามารถใช้ได้กับอนุภาคที่มีการเสี่ยงในการติดไฟและระเบิดได้ และสามารถบำบัดมลพิษทางอากาศได้ทั้งแบบที่เป็นอนุภาค ก๊าซ และไอพร้อมกันได้ เช่น ฝุ่น (Dust) ฟูม (Fume) และ ละออง (Mist) เป็นต้น โดยให้บริษัท สไมล์ แล็บบอราทอรี่ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมขององค์กร

การประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการรับมือกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้คณะทำงานบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่ประเมินปัจจัยความเสี่ยงและผลกระทบรวมถึงโอกาสที่เกี่ยวข้องด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวจะถูกรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืนเพื่ออนุมัติมาตรการรับมือ หรือ แนวทางการดำเนินงานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มาตรการและแนวทางการรับมือความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการและแนวทางการรับมือ

ความเสียหายของสินทรัพย์

  • ประเมินสถานที่ตั้งของอาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร และสินทรัพย์ทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ อย่างสม่ำเสมอ (เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยแล้ง เป็นต้น)

ธุรกิจหยุดชะงักฉับพลัน

  • ติดตามประเมินความเสี่ยงครอบคลุมด้าน ESG เพื่อวางแผนรับมือป้องกันและเตรียมการได้ทันสถานการณ์ ไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ หรือก่อให้เกิดผลกระทบในระดับต่ำที่สุด

มลพิษทางอากาศ

  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

การขาดแคลนวัตถุดิบ

  • วางแผนการจัดการสต็อกอย่างเหมาะสม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดหาวัตถุดิบหลายรายเพื่อให้มีทางเลือกในกรณีที่เกิดการขาดแคลน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน

  • จัดทำและปรับปรุงนโยบายความปลอดภัยและแนวทางการจัดการความร้อนให้กับพนักงาน รวมถึงการจัดพื้นที่ให้มีอากาศหมุนเวียนและถ่ายเทสะดวก

การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน

ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำแนกตามขอบเขต

(หน่วย: ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (Direct GHG Emissions)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect GHG Emission)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Other Indirect GHG Emission)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ
ขอบเขต แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (Direct GHG Emissions) ได้แก่ การเผาไหม้อยู่กับที่การเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ และการรั่วไหลและอื่นๆ 19,729 22,348 20,963
ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect GHG Emission) ได้แก่ การใช้ไฟฟ้า (หน่วย: tCO2eq) 19,047 22,180 24,273
ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Other Indirect GHG Emission) เช่น การได้มาของวัตถุดิบและบรรรจุภัณฑ์ (หน่วย: tCO2eq) 93,485 100,240 104,156
รวม 132,261 144,768 149,392

หมายเหตุ:

  • หน่วยงานผู้ทวนสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร คือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
  • ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2567 อยู่ระหว่างการตรวจรับรองจากหน่วยงานภายนอกและอาจมีการเปลี่ยนแปลง

ผลการดำเนินงาน

(หน่วย: ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยการผลิต)

ผลการดำเนินงาน
ความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ Scope 2)

(หน่วย: ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยการผลิต)

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ Scope 2) 0.1275 0.1224 0.1176
ข้อมูลปริมาณการใช้พลังงาน

ปริมาณของการใช้พลังงานไฟฟ้า

(หน่วย: จิกะจูล)

ปริมาณของการใช้พลังงานไฟฟ้า ปริมาณของการใช้พลังงานไฟฟ้า

ปริมาณการใช้พลังงานความร้อน

(หน่วย: จิกะจูล)

ปริมาณการใช้พลังงานความร้อน ปริมาณการใช้พลังงานความร้อน
ปริมาณการใช้พลังงาน ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
ปริมาณของการใช้พลังงานไฟฟ้า 152,974 180,725 194,997
ปริมาณการใช้พลังงานความร้อน 273,409 266,138 297,602
รวม 426,383 446,863 492,599
ความเข้มข้นของการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต

(หน่วย: จิกะจูลต่อหน่วยการผลิต)

อัตราการใช้พลังงาน ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
อัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต 1.4018 1.2288 1.2808
ข้อมูลปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

(หน่วย: ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

การใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์

การใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์

การบริหารประสิทธิภาพการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การบริหารประสิทธิภาพการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำประปา

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำประปา การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำประปา

การจัดการขยะและของเสียจากกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการขยะและของเสียจากกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการขยะและของเสียจากกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
รายการ ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 788.52 3,562.11 250.83
การใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ 978.56 1,299.51 1,250.08
การบริหารประสิทธิภาพการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 129.69 238.10 227.45
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำประปา 141.04 206.67 213.39
การจัดการขยะและของเสียจากกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 873.56 1,786.87 1,338.83
รวม 2,911.37 7,093.26 3,280.58