
การบริหารจัดการความเสี่ยง

ความสำคัญและพันธกิจ
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตขององค์กรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ผ่านการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล เพื่อที่จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจและบรรเทาความสูญเสียที่อาจะจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสทางธุรกิจภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงทางสภาพแวดล้อมสำคัญต่างๆ ต่อการดำเนินงานของธุุรกิจ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานสากล ทั้งนี้ บริษัทฯ ดำเนินการต่อต้านการคอร์รัปชัน รักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี และบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำกับให้มีการบูรณาการการบริหารความเสี่ยงเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

นักลงทุน/ผู้ถือหุ้น

ผู้บริโภค

พนักงาน

คู่ค้า/เจ้าหนี้

คู่แข่งทางการค้า
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เป้าหมาย
แนวทางการบริหารจัดการ
- กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร
- จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง และกำกับติดตามให้มีประเมินผลกระทบและโอกาสจากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติตามแผนจัดการความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส
- สร้างความตระหนักรู้ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร
การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการนำระบบมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานบริหารธุรกิจ โดยบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินงานในทุกกระบวนการระบบห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยสภาพแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์วิกฤติของโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainly) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ที่่มีการเปลี่่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถคาดเดาผลได้ชัดเจนและยากต่อการตัดสินใจ
บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงและกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร ตั้งแต่การระบุความเสี่ยง ประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบของความเสี่ยง และจัดทำมาตรการป้องกัน/แผนจัดการความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท ตามหลักการความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite Framework) บนหลักการของการกำกับดููแลกิจการ (Corporate Governance Code) และได้ประยุกต์ใช้ 5 องค์ประกอบ 20 หลักการของกรอบแนวทาง COSO ERM 2017: Enterprise Risk Management (Integrating with Strategy an Performance) ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้คณะทำงานบริหารความเสี่ยงติดตามผลการปฏิบัติตามแผนจัดการความเสี่ยงร่วมกับหน่วยงานบริหารความเสี่ยงและหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร พร้อมทั้งรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกไตรมาส

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ได้ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยง (Risk Culture) ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับในองค์กรได้นำไปปฏิบัติและตระหนักถึงการบริหารความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางได้นำแนวทางการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติเป็นแบบอย่าง และถ่ายทอดความรู้การบริหารความเสี่ยงดังกล่าวสู่ระดับปฏิบัติการได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง 3 ระดับ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อกำกับดูแล ติดตาม และทบทวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร รวมถึงให้กรอบการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการบริหารความเสี่ยงและติดตามความคืบหน้าของแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ มีการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยมีเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) เป็นผู้รับผิดชอบในการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยง การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง (Risk Analysis) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มี (Risk Factor) และการค้นหาสาเหตุของความเสี่ยง (Risk Cause / Root Cause) และประเมินระดับความรุนแรงของความเสี่ยง (Risk Evaluation) ที่มีความสัมพันธ์กับแต่ละปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินโอกาสในการเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) พร้อมกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ในแต่ละสาเหตุความเสี่ยง ทั้งระดับในปัจจุบัน และระดับที่ต้องการ ทั้งด้านโอกาสในการเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงถ้าความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นจริง แล้วเรียงลำดับความสำคัญของความเสี่ยง เพื่อเลือกเฉพาะความเสี่ยงที่สำคัญจริงๆ กับงาน โดยใช้แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Matrix) และมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินโอกาสและผลกระทบไว้ 4 ระดับ ดังนี้
ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้
ระดับ | คำอธิบาย | สี | ความหมาย |
---|---|---|---|
4 | สูงมาก | แดง | ระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้จำเป็นต้องเร่งจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทันที |
3 | สูง | ส้ม | ระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ โดยต้องมีการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต่อไป |
2 | ปานกลาง | เหลือง | ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเคลื่อนย้ายไปยังระดับที่ยอมรับไม่ได้ |
1 | ต่ำ | เขียว | ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องมีการควบคุมความเสี่ยงไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม |
โดยมีการประเมินความเสี่ยงในด้านของผลกระทบ (Impact) และโอกาสเกิด (Likelihood) ดังนี้
ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง ผลกระทบ (Severity) และโอกาส (Opportunity) | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ผลกระทบ (Severity) | |||||||
ด้านชื่อเสียง | ด้านกลยุทธ์/เป้าหมาย | ด้านการดำเนินงาน | ด้านการเงิน | ด้านกฎหมาย | ด้านการบริหาร/ควบคุม | Rating | |
สูญเสียรายได้ | สูญเสียค่าใช้จ่าย | ||||||
สูงมาก เสียหายทางด้านชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์องค์กรอย่างร้ายแรง | สูงมาก มีผลกระทบต่อเป้าหมายเชิงกลยุทร์ KPI ที่สำคัญในระดับสูงยอมรับไม่ได้ (>10%) | สูงมาก การกำกับดูแลกิจการล้มเหลว/หยุดชะงักเป็นเวลา > 1 วัน (หรือตามเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานที่ยอมรับไม่ได้และส่งผลให้ล้มเหลว) | สูงมาก มีผลกระทบต่อรายได้ >10% ของเป้าหมาย | สูงมาก สูญเสียค่าใช้จ่ายเกินจากงบประมาณ>10% หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม > 10 ลบ. | มี การร้องทุกข์กล่าวโทษจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านกฎหมาย ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ของ SET หรือกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ | สูงมาก พบจุดอ่อน/ช่องโหว่ในด้านการบริหาร/ควบคุมที่มีนัยสำคัญมาก ยอมรับไม่ได้ ส่ง ผลให้การบริหารจัดการล้มเหลว | 4 |
สูง เสียหายทางด้านชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์องค์กรมาก | สูง มีผลกระทบต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์/KPI สำคัญมากใน ระดับที่ ยอมรับไม่ได้ (6-10%) | สูง การกำกับดูแลกิจการล้มเหลว/หยุดชะงักเป็นเวลา 7-24 ชั่วโมง (หรือตามเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานที่ยอมรับไม่ได้) | สูง มีผลกระทบต่อรายได้ 6-10% ของเป้าหมาย | สูง สูญเสียค่าใช้จ่ายเกินจากงบประมาณ 6-10% หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 3.5 - 10 ลบ. | - | สูง พบจุดอ่อน/ช่องโหว่ในด้านการบริหาร/ควบคุมที่มีนัยสำคัญ มีผลกระทบที่ยอมรับไม่ได้ | 3 |
ปานกลาง เสียหายทางด้านชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์องค์กรเล็กน้อย | ปานกลาง มีผลกระทบต่อ เป้าหมาย เชิงกลยุทธ์/KPI ที่สำคัญเล็กน้อย พอยอมรับได้ (1-5%) | ปานกลาง การกำกับดูแลกิจการล้มเหลว/หยุดชะงักเป็นเวลา 1-6 ชั่วโมง (หรือตามเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานที่ ยอมรับได้) | ปานกลาง มีผลกระทบต่อรายได้ 1-5% ของเป้าหมาย | ปานกลาง สูญเสียค่าใช้จ่ายเกินจากงบ ประมาณ 1-5% หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 1-3.5 ลบ. | - | ปานกลาง พบจุดอ่อน/ของช่องโหว่ในด้านการบริหาร/ควบคุมที่มีผลกระทบที่ยอมรับได้ | 2 |
น้อย ไม่ส่งผลกระทบด้านชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์องค์กร | น้อย ไม่มีผลกระทบต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์/KPI ที่สำคัญ (0%) | น้อย การกำกับดูแลกิจการล้มเหลว/หยุดชะงักเป็นเวลา<1 ชั่วโมง (หรือตามเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน) | ต่ำ มีผลกระทบต่อรายได้ < 1% | ต่ำ สูญเสียค่าใช้จ่ายเกินจากงบประมาณ <1% หรือสูญเสีย ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม < 1 ลบ. | ไม่มี การร้องทุกข์ กล่าวโทษจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านกฎหมาย ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของ SET หรือ กฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ | น้อย ไม่พบจุดอ่อน/ช่องโหว่ในด้านการบริหาร/ควบคุม | 1 |
ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง ผลกระทบ (Severity) และโอกาส (Opportunity) | ||
---|---|---|
โอกาส (Opportunity) | ||
ด้านการควบคุม | ด้านโอกาสเกิด | Rating |
สูงมาก ขาดวิธีการควบคุมจัดการถึงขั้นไม่สามารถป้องกันการเกิดเหตุได้ |
สูงมาก มีโอกาสในการเกิดมากกว่า 50% ใน 1 ปี |
4 |
สูง มีวิธีการควบคุมจัดการที่ไม่ครบถ้วน ไม่สามารถป้องกันการเกิดเหตุได้อย่างสมบูรณ์ |
สูง มีโอกาสในการเกิด 31-50% ใน 1 ปี |
3 |
ปานกลาง มีวิธีการควบคุมจัดการ ที่มีผลในเชิงป้องกันการเกิดเหตุที่ดีในระดับที่ยอมรับได้ |
ปานกลาง มีโอกาสในการเกิด 11-30% ใน 1 ปี |
2 |
น้อย มีวิธีการควบคุมจัดการ ที่มั่นใจว่ามีผลในเชิงป้องกันการเกิดเหตุได้อย่างสมบูรณ์ |
น้อย มีโอกาสในการเกิดน้อยกว่าหรือเท่ากับ ≤10% ใน 1 ปี |
1 |
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงสำคัญที่มีผลกระทบต่อบริษัท ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และความเสี่ยงเกิดใหม่ ทั้งนี้ ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญและมาตรการ/แนวทางจัดการความเสี่ยงใหม่ดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายมีลดลง ต้นทุน การผลิตและต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
- บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถในการ ปรับตัว และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การจัด กลุ่มผลิตภัณฑ์
- ความต้องการของผู้บริโภคลดลง
มาตรการ / แนวทางจัดการความเสี่ยง
- ติดตามสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
- การบริหารโดยวางแผนเป็นฉากทัศน์ (Scenario planning) และจัดทำแผนรองรับเหตุที่อาจเกิดขึ้น (BCM)
- สร้างการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อขยายฐานคู่ค้า เพิ่มทางเลือกทางการตลาด และเพิ่ม ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการหยุดชะงัก นอกจากนี้ สามารถหาโอกาสในการลดต้นทุน ผ่านการหาแหล่งทางเลือกใหม่สำหรับวัตถุดิบและการขนส่ง การปรับเปลี่ยนสูตรการผลิต และการสำรองสินค้า คงคลังเพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบ

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- การมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบที่หายาก
- ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของบริษัท จากการเสียหายของทรัพย์สินและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นของบริษัท
- ความเสียหายจากภัยธรรมชาติอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บและเสียชีวิตของพนักงาน
- อากาศที่ร้อนจัดอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงต่อแรงงาน เช่น การอ่อนเพลีย และโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจัดอื่น ๆ
- อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจเพิ่มระดับของมลพิษทางอากาศและสารพิษที่เป็นอันตรายต่อแรงงาน เช่น มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) การสะสมของมลพิษทางอากาศเนื่องจากสภาพอากาศนิ่ง เป็นต้น
- อุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้นอาจลดทอนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลง จากการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของสารอาหาร สี และเนื้อสัมผัสในระหว่างการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง เป็นต้น
มาตรการ / แนวทางจัดการความเสี่ยง
- ศึกษาและประเมินสถานที่ตั้งของบริษัท เพื่อสร้างแผนการปรับปรุงโครงสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ของสินทรัพย์ที่มีอยู่ตามความจำเป็น ตามการประเมินของบริษัท
- กำหนดแผนและกลยุทธ์การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน อาทิ โครงการพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
- จัดทำและปรับปรุงนโยบายความปลอดภัยและแนวทางการจัดการความร้อน เช่น การจัดหาน้ำดื่มที่เพียงพอ การหยุดพัก และการจัดพื้นที่ให้มีอากาศหมุนเวียนและถ่านเทสะดวก ฯลฯ
- จัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานบริษัทเกี่ยวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการป้องกัน

ความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ หรือ ปัจจัยสำคัญในการผลิต
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- การขาดแคลนวัตถุดิบอาจทำให้ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ ส่งผลต่อยอดขายและรายได้
- ต้นทุนที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบที่หายากส่งผลต่อกำไร
- หากผลิตภัณฑ์ไม่สามารถวางตลาดได้ตามปกติ ลูกค้าอาจหันไปหาผลิตภัณฑ์จากคู่แข่ง
- การขาดแคลนวัตถุดิบอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในกระบวนการผลิต
มาตรการ / แนวทางจัดการความเสี่ยง
- วางแผนการจัดการสต็อกอย่างเหมาะสม เช่น การเก็บสำรองวัตถุดิบที่สำคัญเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดหาวัตถุดิบหลายรายเพื่อให้มีทางเลือกในกรณีที่เกิดการขาดแคลน
- จัดทำแผนสำรองในกรณีที่เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
- สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ทุกฝ่ายทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและสามารถร่วมมือในการหาทางออก
- สรรหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตใหม่ เพื่อลดการใช้วัตถุดิบและเพิ่มประสิทธิภาพ
บริษัทถือว่าบุคลากรและทุกหน่วยงานมีหน้าที่สำคัญในการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการบริหารความเสี่ยงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร จึงได้สื่อสารความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การจัดฝึกอบรมสัมมนาความเสี่ยงองค์กรประจำปี การเผยแพร่คู่มือการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ความรู้ข่าวสาร และกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ โดยวัตถุประสงค์ในการจัดงาน คือ มุ่งเน้นการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น การบริหารโอกาสและความเสี่ยงในภาวะวิกฤตแบบบูรณาการตามหลัก ESG เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนสำหรับบริษัทอิชิตัน (GRC: Governance - Risk - Compliance) ให้กับคณะกรรมการบริษัท และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทให้พนักงานทุกระดับ เป็นต้น
ร้อยละ 100
ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ได้รับการอบรมด้านการบริหารความเสี่ยง

ร้อยละ 100
ของทุกหน่วยงานในองค์กรมีมาตรการและ แนวทางจัดการความเสี่ยง

กิจกรรมด้านความยั่งยืน
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจกรรมด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม