
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

ความสำคัญและพันธกิจ
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบ และยึดถือแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ (Supplier and Business Partner Code of Practice) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือกคู่ค้า การจัดซื้อจัดจ้าง การประเมิน ตรวจสอบ ติดตามและส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามนโยบายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้คัดกรองและประเมินคู่ค้าทั้งหมดโดยใช้เกณฑ์ด้าน ESG เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง การพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท และลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และจริยธรรมทางธุรกิจ ให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนโดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาวร่วมกัน สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ข้อที่ 12 ในประเด็นด้านการส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

สังคมและชุมชน

คู่ค้า/เจ้าหนี้
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ของคู่ค้าได้รับการสื่อสารเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน


ของคู่ค้าผ่านการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
แนวทางการบริหารจัดการ
- กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน และ คู่มือ “จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจและแนวปฏิบัติ” เพื่อให้คู่ค้าได้รับทราบแนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
- ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่และแนวทางการดำเนินการกับคู่ค้ารายเดิม ตลอดจนการจัดให้มีแผนงานตรวจประเมินคู่ค้าประจำปี รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้า (ESG Risks) เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนร่วมกัน
- กำหนดให้มีนโยบายการจ่ายชำระเงินให้แก่คู่ค้า (Credit Term) เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใสและเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจระหว่างคู่ค้าและบริษัทฯ
- สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า เพื่อให้บริษัทฯ และคู่ค้าสามารถเติบโตทางธุรกิจในระยะยาวไปด้วยกัน
การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างคุณค่าร่วมกันซึ่งถือเป็นหลักการขั้นพื้นฐานสำหรับการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ดี บริษัทฯ จึงกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Management) ที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคู่ค้าที่สำคัญ (Critical Tier -1) รวมไปถึงการประเมินความเสี่ยงจากการดำเนินงานของคู่ค้า พร้อมทั้งส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า โดยมีการประเมินคู่ค้าเป็นประจำทุกปีเพื่อพัฒนาและติดตามการดำเนินงานของคู่ค้าให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ภายใต้จรรยาบรรณธุรกิจครอบคลุมการตรวจประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าที่สำคัญ ด้าน ESG (ESG Risk Screening) การคัดเลือกและขึ้นทะเบียนคู่ค้า (Supplier Selection and Registration Process) และการบริหารความเสี่ยงของคู่ค้า (Supplier ESG Risk Management) เพื่อระบุความสำคัญของคู่ค้า (Supplier Identification) ให้มั่นใจว่าคู่ค้าทุกรายของบริษัทมีศักยภาพและส่งมอบวัสดุ วัตถุดิบ สินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความเป็นธรรมของระบบการจัดซื้อจัดจ้าง จึงได้กำหนดแนวทางการจัดซื้อและกำหนดขอบเขตของอำนาจในการอนุมัติ ยกเลิก และแก้ไขใบสั่งซื้อตามกระบวนการและผู้รับผิดชอบที่กำหนดโดยให้เป็นไปตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ ที่มีความมุ่งมั่นที่ดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืนและให้ความสำคัญกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่เลือกปฏิบัติ มีระบบการตรวจสอบภายในที่มีมาตรฐานพร้อมทั้งตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของลูกค้า ชุมชนและสังคม และจะไม่ทำธุรกรรมกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย ทุจริต หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต
บริษัทฯ ได้ยกระดับกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กรในการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มคุณภาพและนวัตกรรมที่เติบโตไปพร้อมกับสังคมที่ดี จึงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน 4 เรื่องหลัก ดังนี้
กลยุทธ์คัดเลือกและตรวจประเมินคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงและการจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ
กลยุทธ์การพัฒนาและยกระดับศักยภาพคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน
กลยุทธ์สร้างความตระหนัก ความรู้ ความสามารถของพนักงาน
เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ และทำให้คู่ค้ามีศักยภาพ ประสิทธิภาพและเติบโตร่วมกันกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
บริษัทฯ ได้บูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายใต้กรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณคู่ค้าของบริษัทฯ ที่ได้จัดทำไว้ โดยมุ่งเน้นไปที่การมีทัศนคติเชิงบวกและการร่วมมือกับพันธมิตร ในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีในด้านสิ่งแวดล้อมสังคม และการกำกับดูแลกิจการ นโยบายการจัดซื้ออย่างรับผิดชอบจะมุ่งเน้นในมิติที่บรรลุและรักษาหลักการพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากฐานและวิสัยทัศน์ที่ตระหนักถึงความมุ่งมั่นทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ โดยทำงานร่วมกับคู่ค้าที่มีการปฏิบัติตามหลักการภายในธุรกิจตามคู่มือจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ (Business Code of Conduct) ซึ่งครอบคลุมนโยบายการจัดซื้อวัสดุ วัตถุดิบเครื่องจักร อุปกรณ์และเคมีภัณฑ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นโยบายการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบของบริษัทฯจะตรวจสอบความสอดคล้อง และการนำข้อกำหนดที่จำเป็นระบุลงในแบบสอบถามการประเมินคู่ค้าเพื่อให้ได้คู่ค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักการในนโยบายดังต่อไปนี้

- คู่ค้าประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส
- คู่ค้าจัดหาวัตถุดิบด้วยความปลอดภัยและมีคุณภาพ และเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น การลดการใช้สารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และยาฆ่าแมลงในวัตถุดิบเกษตร เป็นต้น และมีระบบในการตรวจสอบ และประเมินการเป็นของแท้ของวัตถุดิบ
- คู่ค้าประกอบธุรกิจภายในกฎเกณฑ์ กฎหมาย และการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
- คู่ค้าจัดหาวัตถุดิบภายใต้ระบบควบคุมคุณภาพที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability Process) คู่ค้าจะต้องมีระบบในการทวนสอบรหัสกำกับสินค้า หมายเลขของชุดการผลิตของวัสดุและวัตถุดิบ และ พร้อมที่จะให้ข้อมูลแก่ทางบริษัทฯ รวมถึงแจ้งแหล่งกำเนิดหรือที่มาขององค์ประกอบต่างๆในวัสดุและวัตถุดิบนั้นๆ เพื่อใช้ในการชี้บ่งและสอบกลับ
- คู่ค้าปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและท้องถิ่น
- คู่ค้าประกอบธุรกิจตามกฎหมายและหลักสากลด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน (Human Right)
- คู่ค้าประกอบธุรกิจให้สอดคล้องตามกฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
- คู่ค้าประกอบธุรกิจภายใต้การบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การมีกระบวนการผลิตที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการกำจัดของเสียเป็นไปตามกฎหมายและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในชุมชน ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก มีความรับผิดชอบ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
- คู่ค้าประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อชุมชนและสังคม ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และไม่ดำเนินธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมลง
บริษัทฯ มีนโยบายและเป้าหมายในการปฏิบัติต่อคู่ค้าด้วยความเสมอภาคและคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน จึงได้จัดทำและเผยแพร่ “จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ” หรือ “Business Code of Conduct” ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงานสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบย้อนกลับ มีการปฏิบัติต่อคู่ค้าบนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรม เสมอภาคและเคารพซึ่งกันและกัน รวมถึงได้มีการตรวจติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ โดยการตอบแบบประเมินตนเองของคู่ค้า (Supplier Self-Assessment Questionnaire (SAQ) ของคู่ค้ารายสำคัญดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทางในจรรยาบรรณฉบับนี้

จริยธรรมคู่ค้าธุรกิจ
- การประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ยึดถือนโยบาย ข้อบังคับ กฎระเบียบ ศีลธรรมอันดี จรรยาบรรณ และค่านิยมองค์กรอย่างเคร่งครัด
- ความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คู่ค้าธุรกิจต้องจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีระบบในการตรวจสอบและประเมินการเป็นของแท้ของวัตถุดิบนั้นๆ รวมถึงเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ที่เป็นจริง เกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดการปลอมปนการสับเปลี่ยนตามสภาพเศรษฐกิจและการซื้อขายในช่วงเวลานั้น และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานและกฎหมายของแต่ละประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจ
- การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น คู่ค้าธุรกิจของบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะต้องไม่เสนอหรือสัญญา หรือให้สินบน ของขวัญ รางวัลหรือผลประโยชน์ใดๆ แก่หน่วยงานราชการ ลูกค้า หรือบุคคลอื่นใด เพื่อที่จะได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจ ให้มีช่องทางในการสื่อสารเพื่อให้ผู้แจ้งเบาะแสสามารถที่จะแจ้งเบาะแสอันควรสงสัย โดยให้ความมั่นใจว่าผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับการคุ้มครอง
- การตรวจสอบย้อนกลับคู่ค้าจะต้องมีระบบในการทวนสอบรหัสกำกับสินค้า หมายเลขของชุดการผลิตของวัสดุและวัตถุดิบ และพร้อมที่จะให้ข้อมูลแก่ทางบริษัทฯ รวมถึงแจ้งแหล่งกำเนิดหรือที่มาขององค์ประกอบต่างๆ ในวัสดุและวัตถุดิบนั้นๆ เพื่อใช้ในการชี้บ่งและสอบกลับ
- การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมคู่ค้าธุรกิจจะปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น รวมถึงจะสนับสนุนการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การปฏิบัติด้านแรงงานเด็ก และสิทธิมนุษยชน
- การป้องกันการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการกดขี่แรงงาน คู่ค้าธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและหลักสากลด้านแรงงานอย่างครบถ้วน ต้องไม่กระทำการใดๆ หรือไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ต้องไม่ว่าจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และต้องมั่นใจว่าแรงงานไม่ทำงานในพื้นที่อันตรายต่อสุขภาพ จัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อให้พนักงานสามารถร้องเรียนต่อบริษัท และคำร้องเรียนพึงได้รับการเอาใจใส่และดำเนินการอย่างเป็นธรรม
- การจ้าง ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์คู่ค้าควรปฏิบัติจ่ายค่าแรงปกติและค่าแรงล่วงเวลา จะต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานปกติไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ การเข้าระบบประกันสังคม หรือข้อกำหนดอื่นๆ ของคู่ค้าที่บริษัทฯ แจ้งให้ปฏิบัติ ในกรณีที่มีการใช้แรงงานต่างด้าวต้องมีการจัดทำสัญญาสำหรับคนงานทั้งหมด ทั้งนี้ สัญญานั้นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย โดยข้อกำหนดและเงื่อนไขของการจ้างงาน สัญญาต้องเป็นภาษาที่แรงงานเข้าใจ
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คู่ค้าธุรกิจต้องดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องตามกฎหมายและนโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน ถูกสุขลักษณะ ต้องมีระบบและกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติ ขั้นตอนในการทำงานรวมถึงการจัดเครื่องมือและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้กับพนักงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยจัดทำฝึกซ้อม และปรับปรุงแผนฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน
สิ่งแวดล้อม
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม คู่ค้าธุรกิจควรดำเนินงานด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ปล่อยสารเคมีและวัตถุอันตรายอื่นๆ ทำให้ชุมชนเกิดความเดือดร้อน ต้องจัดการตามกฎหมายกำหนด สร้างจิตสำนึก มีความรับผิดชอบ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีมาตรการบำบัดและฟื้นฟูทดแทน ป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สังคม
- คู่ค้าธุรกิจควรดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อชุมชนและสังคมดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ดำเนินธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมลง และไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมในชุมชนและสังคม เช่น ยกเลิกการตัดไม้ทำลายป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสียรวมถึงใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการคัดเลือกคู่ค้าท้องถิ่น บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินคู่ค้าเบื้องต้นด้วยการตรวจสอบ Checklist ตามแบบฟอร์มที่บริษัทฯ กำหนดให้ อาทิเช่น วัตถุดิบที่ขายให้กับบริษัทฯ กระบวนการผลิตของคู่ค้า การรับประกันคุณภาพคุณลักษณะที่ดีและความสะอาดของวัตถุดิบ การปนเปื้อนและการดัดแปลงพันธุกรรม การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นต้น
โดยภายหลังจากการที่คู่ค้าประเมินตนเองเบื้องต้น บริษัทฯ จะดำเนินการเข้าไปตรวจประเมินการดำเนินงานของคู่ค้าก่อนการสั่งซื้อ เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าจะปฏิบัติตามข้อตกลงและมาตรฐานตามที่กำหนดไว้

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการวงจรเงินสดเพื่อให้สามารถดำรงสภาพคล่องทางธุรกิจได้ต่อไปในระยะยาว ตลอดจนคำนึงถึงความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้า เน้นการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดี โดยยึดมั่นในข้อสัญญาและการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม มีการกำหนดระยะเวลาชำระเงินที่เหมาะสม ตรงเวลา และเป็นไปตามเงื่อนไขทางธุรกิจที่ได้ตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการจ่ายชำระเงินให้แก่คู่ค้า (Credit Term) เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใสและเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจระหว่างคู่ค้าและบริษัทฯ
บริษัทฯ มีนโยบายการกำหนดระยะเวลาการจ่ายชำระเงินให้แก่คู่ค้า (Credit Term) ในช่วงระหว่าง 30 ถึง 60 วัน (ระยะเวลาเฉลี่ย 45 วัน) โดยระยะเวลาดังกล่าวอาจแตกต่างกันและเป็นไปตามข้อตกลงหรือการเจรจาร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และคู่ค้าแต่ละราย ประกอบกับลักษณะการดำเนินงานของคู่ค้า ระยะเวลาที่บริษัทและคู่ค้าดำเนินธุรกิจร่วมกัน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่พิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่บริษัทฯ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุให้บริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ บริษัทฯ จะดำเนินการชี้แจงต่อคู่ค้าโดยตรงเป็นการล่วงหน้า

ผลการดำเนินงาน
(หน่วย: วัน)

ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่เคยมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้กับคู่ค้ารายใด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(หน่วย: วัน)
ผลการดำเนินงาน | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|
ระยะเวลาชำระเงินให้แก่คู่ค้าเฉลี่ย | 29.83 | 3.52 | 34.10 |
เพื่อให้การบริหารจัดการคู่ค้าสำคัญเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าสำคัญ โดยครอบคลุมถึงประเด็นด้าน ESG Risks และจัดกลุ่มตามระดับความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยบริษัทฯ จะมุ่งเน้นการบริหารจัดการคู่ค้าสำคัญ (Critical Supplier) ในห่วงโซ่อุปทานที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือมีผลกระทบที่รุนแรงก่อนเป็นลำดับแรก ร้อยละ 100 ของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญจากข้อมูลการตอบแบบประเมินตนเองของคู่ค้า (Self-Assessment Questionnaire :SAQ) ทั้งหมดที่ตอบกลับ โดยแบ่งกลุ่มคู่ค้าที่สำคัญตามประเภทผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก คือ ประเภทวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ จากการประเมินตนเองของคู่ค้านั้น ไม่มีคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานรายใดไม่ผ่านแบบสอบถามการประเมินตนเอง (SAQ)
จำนวนคู่ค้าที่ผ่านการตรวจประเมินรวม
80 ราย
Self-Assessment Questionnaire 79 ราย
On-Site Audit 1 ราย

วัตถุดิบ

บรรจุภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์คู่ค้า | จำนวนคู่ค้ารายใหม่ | จำนวนคู่ค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน | |
---|---|---|---|
Self-Assessment Questionnaire | On-Site Audit | ||
วัตถุดิบ | 65 | 65 | - |
บรรจุภัณฑ์ | 15 | 14 | 1 |
รวม | 80 | 79 | 1 |
ในปี 2567 คู่ค้ารายใหม่จำนวน 80 ราย ผ่านการตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า (Self-Assessment Questionnaire :SAQ) ดำเนินการครบตามแผนการตรวจติดตามผู้ขาย 100% และ On-Site Audit คู่ค้า 1 ราย ประเภทสินค้าบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด นอกจากนี้ แผนกจัดซื้อจัดจ้างทบทวนแบบประเมินการคัดเลือกคู่ค้าทุกปี เพื่อให้ครอบคลุมรายละเอียดประเด็นด้าน ESG Risk ในเชิงลึกเพิ่มมากขึ้น
บริษัทฯ บริหารความเสี่ยงจากการจัดหาและความเสี่ยงจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitical Risk) ด้วยการขยายรายชื่อซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับอนุมัติ (Approved Supplier list) อย่างต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศให้กระจายในแต่ละภูมิภาคเพื่อลดความเสี่ยงหากซัพพลายเออร์ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทได้
ในปี 2567 บริษัทฯ มีการจัดซื้อจากคู่ค้าในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 98.75 ของการสั่งซื้อในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด จัดซื้อจากคู่ค้าต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 1.25 เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมไปถึงปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของคู่ค้าที่ดำเนินการอยู่ รวมทั้ง ความเสี่ยงตามบริบทอุตสาหกรรมเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่คู่ค้าดำเนินอยู่ และความเสี่ยงตามบริบทของสินค้าเป็นความเสี่ยงจากสินค้าที่คู่ค้าผลิตหรือมีไว้จำหน่าย เป็นต้น

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาคู่ค้า จึงส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับคู่ค้าในการพัฒนาความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานของคู่ค้าให้ดียิ่งขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทฯ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าให้เติบโตไปด้วยกันในระยะยาวโดยมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิต ส่งเสริมและให้คำปรึกษาในการยกระดับระบบบริหารคุณภาพและระบบความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของคู่ค้า นอกจากนี้ ยังเป็นการบริหารความสัมพันธ์ระยะยาวกับคู่ค้า เชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า
ในปี 2567 บริษัทฯ ดำเนินโครงการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล (rPET) ร่วมกับคู่ค้า บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด โดยเก็บกลับขยะขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากโรงงานอิชิตันและชุมชนใกล้เคียงผ่านผู้รับซื้อขยะขวดพลาสติก จำนวน 639,936 ลัง คิดเป็นปริมาณการใช้พลาสติกรวม 311,200 กิโลกรัม ไปยังโรงงานเอ็นวิคโคที่จังหวัดระยอง เพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล และส่งกลับให้บริษัท ฮอน ชวน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET Resin) มาผลิตเป็น rPET Preform ส่งต่อให้กับอิชิตัน ในการขึ้นรูปขวดบรรจุผลิตภัณฑ์อีกครั้ง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการเปลี่ยนมาใช้ฉลากที่มีรอยปรุกับผลิตภัณฑ์ อิชิตัน กรีนที 500 มล. ชิซึโอกะ 440 มล. และ อิชิตัน น้ำด่าง 550 มล. ซึ่งเป็นความร่วมมือกับคู่ค้าที่ขายฉลากชั้นนำหลายบริษัท ได้แก่ บริษัท ฟูจิ ซีล แพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ชริ้งเฟล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีซีแอ ลาเบิล (ไทย) จำกัด เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคฉีกฉลากออกจากขวดได้ง่ายขึ้นทำให้บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวสามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซด์เคิลได้
หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวเปิดเผยอยู่ในประเด็นความยั่งยืนภายใต้หัวข้อด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567
บริบทของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร การตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความปลอดภัยของธุรกิจอาหารที่มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นต่อการบริหารจัดการร่วมกับคู่ค้าและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานและมุ่งส่งเสริมให้คู่ค้ามีส่วนร่วมต่อการป้องกันผลกระทบที่อาจส่งผลต่อคุณค่าร่วมระหว่างบริษัทฯ ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนที่เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างความสามารถในการแข่งขันร่วมไปกับคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เกิดความยั่งยืนร่วมกันต่อไป
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้า
บริษัทฯ มีกระบวนการในการคัดเลือกคู่ค้าโดยการให้คู่ค้าแข่งขันบนข้อมูลที่เท่าเทียมกันและคัดเลือกคู่ค้าด้วยความยุติธรรม ภายใต้หลักเกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือกคู่ค้าของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำรูปแบบสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทุกฝ่าย และจัดให้มีระบบติดตามเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างครบถ้วนและป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากคู่ค้าตามเงื่อนไขทางการค้าตลอดจนปฏิบัติตามสัญญาต่อคู่ค้าอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเก็บรักษาข้อมูลของคู่ค้าและไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์โดยมิชอบ
การคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่
บริษัทฯ บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้ากับการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ในทุกขั้นตอน โดยสื่อสารให้คู่ค้ารับทราบนโยบายและความคาดหวังขององค์กร พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพและคุณสมบัติในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ ครอบคลุมประเด็นสำคัญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
- ความสามารถในการผลิตและการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม
- ความสามารถในการส่งมอบและบริการอย่างเหมาะสมภายใต้ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
หลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพและคุณสมบัติในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ




บริษัทพิจารณาจากผลคะแนนการคัดเลือกคู่ค้าที่มีหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืนที่บริษัทเป็นผู้กำหนด หากคู่ค้ารายใดไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจากการคัดเลือกคู่ค้า ที่มีหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืนภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนด จะไม่ได้รับพิจารณาการต่อสัญญา ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าในการดำเนินงานของคู่ค้าสอดคล้องกับกฎหมายและข้อปฏิบัติต่างๆ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทกำหนดให้มีการคัดกรองความเสี่ยงคู่ค้า (Supplier Screening) ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) ทั้งหมด ทั้งคู่ค้ารายเดิม (Existing Suppliers) และคู่ค้ารายใหม่ (New Suppliers) โดยความรับผิดของแผนกจัดซื้อจัดจ้างและแผนกบริหารความเสี่ยง เพื่อค้นหาความเสี่ยงเบื้องต้นของคู่ค้าด้วยเครื่องมือ Risk-based Due Diligence อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการกับคู่ค้ารายปัจจุบัน
บริษัทมีหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อประเมินคู่ค้ารายปัจจุบันจากคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า ราคา ผลการดำเนินงาน รวมถึงการประเมินด้าน ESG โดยมีขั้นตอนการพิจารณา ดังนี้
- คู่ค้าทำการประเมินคุณภาพประจำปี โดยทางส่วนประกันคุณภาพพิจารณาและสรุปผลการดำเนินงานที่บันทึกการตรวจสอบคุณภาพ ข้อมูลสินค้า คุณลักษณะ สภาพการขนส่ง และอายุการจัดเก็บคงเหลือ ของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และการประเมินด้าน ESG ประจำปี
- เกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้าที่ต้องได้รับการประเมิน ณ สถานประกอบการประจำปี (on-site audit) โดยส่วนประกันคุณภาพ กำหนดให้มีการสุ่มตรวจประเมินผู้ขายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งตามแผนที่กำหนด
คู่ค้า ผู้ค้า หรือคู่ธุรกิจของบริษัทฯ หมายถึง ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้างและ/หรือให้บริการ แก่บริษัท ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ไม่ใช่ “ลูกค้าหรือคู่แข่งทางธุรกิจ”
หลักเกณฑ์การระบุคู่ค้ารายสำคัญ
- คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง (High-Volume Suppliers)
- คู่ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ (Critical Component Suppliers) ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสำเร็จของตลาด
- คู่ค้าที่มีน้อยราย หรือ ไม่สามารถทำแทนได้ (Non-substitutable Suppliers) เช่น คู่ค้าวัสดุ/วัตถุดิบ ที่เป็นคำสั่งซื้อพิเศษเฉพาะกับข้อกำหนดของบริษัทฯ
หลักเกณฑ์การระบุคู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 พิจารณาจากมูลค่าการสั่งซื้อวัสดุ/วัตถุดิบในรอบ 1 ปี ดังนี้
- กลุ่มคู่ค้าหลัก (Critical Supplier) เป็นคู่ค้าในหมวดวัสดุ/วัตถุดิบ ที่มีมูลค่าการสั่งซื้อโดยรวมและมูลค่าการขายของคู่ค้ารายนั้นสูงกว่า 30 ล้านบาท
- กลุ่มคู่ค้ารอง (Non Critical Supplier) เป็นคู่ค้าในหมวดวัสดุ/วัตถุดิบ ที่มีมูลค่าการสั่งซื้อวัสดุ/วัตถุดิบ โดยรวมและมูลค่าการขายของคู่ค้ารายนั้น ที่มีมูลค่าการสั่งซื้อโดยรวมและมูลค่าการขายของคู่ค้ารายนั้นน้อยกว่า 30 ล้านบาท
หลักเกณฑ์พิจารณาคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป
คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป (Critical Non-Tier1 Suppliers) หมายถึง ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการให้กับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Tier1 Suppliers) ของบริษัทฯ ซึ่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นๆ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสำเร็จของตลาด หรือการอยู่รอดของบริษัทฯ มีจำนวนน้อยราย หรือไม่สามารถหาทดแทนได้
ในปี 2567 มีจำนวนคู่ค้าใหม่เพิ่มขึ้น 80 ราย เป็นคู่ค้าในประเทศจำนวน 79 ราย คิดเป็น 98.75% ของคู่ค้าทั้งหมด และคู่ค้าต่างประเทศจำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.25 ของคู่ค้าทั้งหมด ซึ่งผ่านการประเมินตนเองของคู่ค้า (Supplier Self-Assessment Questionnaire (SAQ) ทุกราย
หลักเกณฑ์การตรวจประเมินคู่ค้า
บริษัทมีการวางแผนจัดทำแผนการตรวจสอบคู่ค้าประจำปี โดยจะดำเนินการจัดส่งเอกสาร Vendor Visit Check Sheet / Supplier Self Audit และไปตรวจประเมินที่โรงงานคู่ค้า (On-site Audit) โดยการพิจารณาว่าจะไปตรวจสอบคู่ค้ารายใดนั้น ให้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ขายรายใหม่ และยังไม่ได้เข้าทำการตรวจสอบหรือตรวจสอบแบบ Self-Audit
- เป็นผู้ขายที่พบปัญหาคุณภาพสินค้าบ่อยครั้งหรือพบปัญหาด้านคุณภาพที่สำคัญซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินค้า
- ผู้ขายมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ผลิตหรือกระบวนการผลิตสินค้า
- เป็นผู้ขายรายเดิมที่ส่งสินค้าเป็นวัตถุดิบหลักให้กับทางบริษัทฯ หรือบริษัทฯ มีการสั่งซื้อเป็นปริมาณมากและไม่ได้ตรวจสอบมาเป็นระยะเวลามากกว่า 2 ปี
- เป็นผู้ขายวัสดุ/วัตถุดิบที่ทางลูกค้าของบริษัทฯ ให้ความเข้มงวดเป็นพิเศษหรือมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาหารทำให้เป็นเหตุต้องเข้มงวด และผู้ขายที่นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว บริษัทฯ จะดำเนินการจัดส่งเอกสาร Vendor Visit Check Sheet / Supplier Self Audit เพื่อให้คู่ค้า และ/หรือผู้ขาย กรอกรายละเอียดกลับมา
ในปี 2567 ร้อยละ 100 ของรายใหม่ทั้งหมด ที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Tier1 Suppliers) และคู่ค้าลำดับสำคัญถัดมาของบริษัท ได้ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตามที่บริษัทกำหนด บริษัทฯ มีการใช้เกณฑ์การประเมินคู่ค้าด้าน ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกคู่ค้าที่จะมาดำเนินงานร่วมกับบริษัทฯ พร้อมทั้ง นำมาตรฐาน ISO 14001 ด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้เป็นเกณฑ์การประเมินคู่ค้า ด้านการตรวจประเมินระบบการจัดการมลพิษ ระบบบำบัดน้ำเสียและการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง ระบบการควบคุมควันพิษ ระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นตน สำหรับเกณฑ์การประเมินคู่ค้าด้านสังคมบริษัทได้นำเอาหลักจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน การใช้แรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก การประเมินและตรวจสอบระบบความปลอดภัยในการทำงาน การควบคุมดูแลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยบริษัทได้ดำเนินการเข้าไปตรวจประเมินการดำเนินงานของคู่ค้ารายใหม่ก่อนการสั่งซื้อ รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าจะปฏิบัติตามข้อตกลงและมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งสร้างความมั่นใจว่าคู่ค้าที่จะเข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัทมีความใส่ใจในการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ กำหนดแนวปฏิบัติการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
- เพิ่มจำนวนคู่ค้าและรายการวัสดุ/วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สื่อสารแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของคู่ค้า
บริษัทฯ มีนโยบายและกระบวนการเกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของคู่ค้า โดยการร่วมมือพัฒนาสินค้าและนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทฯ และคู่ค้า และยังมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้าของบริษัทฯ ให้มีความกินดีอยู่ดีสนับสนุน และช่วยส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ของเกษตรกร และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้เติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯ โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ เป็นมูลค่า 709.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18.5 ของงบประมาณซื้อวัตถุดิบทั้งหมด เพื่อใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างวัตถุดิบหลักจากเกษตรกรและพ่อค้าคนกลาง เช่น ใบชา น้ำตาล เป็นต้น
ปี 2567

ปี 2566

ปี 2565

ปี | งบประมาณการซื้อวัตถุดิบ | |
---|---|---|
คู่ค้าทั้งหมด | คู่ค้าท้องถิ่น | |
2565 | 3,076.5 ล้านบาท | 494.1 ล้านบาท |
2566 | 3,593.5 ล้านบาท | 579.9 ล้านบาท |
2567 | 3,838.8 ล้านบาท | 709.6 ล้านบาท |