
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

ความสำคัญและพันธกิจ
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมถึงรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงจัดทำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ยึดถือและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีการทบทวนแนวทางการปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับ และข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ถูกสื่อสารให้แก่พนักงานทุกระดับในองค์กร รวมถึงคู่ค้าทางธุรกิจ และผนวกอยู่ในนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

นักลงทุน/ผู้ถือหุ้น

ผู้บริโภค

พนักงาน

สังคมและชุมชน

คู่ค้า/เจ้าหนี้

สถาบัน/หน่วยงานภาครัฐ
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ



อิชิตัน ได้รับการรับรองสมาชิก CAC

แนวทางการบริหารจัดการ
- กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการในระดับองค์กร ได้แก่ คู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ นโยบายบริหารความเสี่ยง นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดหรือข้อร้องเรียน เป็นต้น
- จัดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนจากทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อพบเหตุการณ์การคอร์รัปชัน การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเข้าข่ายการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจขององค์กร รวมถึงการเปิดเผยผลการดำเนินการอย่างโปร่งใส
การต่อต้านการคอร์รัปชัน
บริษัทฯ มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี รวมถึงรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงจัดทำนโยบายต่อต้านการรคอร์รัปชันเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ยึดถือและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีการทบทวนแนวทางการปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับ และข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ถูกสื่อสารให้แก่พนักงานทุกระดับในองค์กร รวมถึงคู่ค้าทางธุรกิจ และผนวกอยู่ในนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Collective Action Against Corruption: CAC) มาอย่างต่อเนื่อง ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการบริษัท ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อความก้าวหน้าและการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ร้อยละ 100
ของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานได้รับการอบรมเรื่องการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันและมีการเปิดเผยนโยบายดังกล่าวไว้ บนระบบ Intranet ของบริษัทฯ
ในปี 2567 บริษัทฯ ยังได้รับรางวัล CAC Change Agent Award 2024 (ปีที่ 1) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในการส่งเสริมคู่ค้าซึ่งเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย โดยมีบริษัทคู่ค้าจำนวน 10 บริษัท ที่เข้าร่วมโครงการฯ และลงนามประกาศเจตนารมณ์เป็นสมาชิก ถือเป็นรางวัลการันตีความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการขยายเครือข่ายธุรกิจโปร่งใสและสนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันต่อไปในอนาคต
กระบวนการและมาตรการการจัดการความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชัน
- บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยหน่วยงานซึ่งดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ ด้วยตารางประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่ได้รับการแนะนำจาก CAC
- ในการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทฯ จะต้องมีระบบมาตรการควบคุมภายใน ครอบคลุมถึง Operational Control, Environment Control และ Financial Control อย่างครบถ้วน
- บริษัทฯ มีขั้นตอนการจัดการความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชันอย่างรัดกุม เพื่อให้มั่นใจว่ารายการทางการเงินใดๆ จะได้รับการบันทึกในสมุดบัญชีอย่างครบถ้วน และไม่มีรายการใดที่ไม่ได้รับการบันทึก หรือไม่มีรายการใดที่ไม่สามารถอธิบายได้ หรือเป็นรายการที่เป็นเท็จ โดยมีการใช้แบบฟอร์มรายงานการให้/รับ ของขวัญและของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง ต้องผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อนการดำเนินการ
- บริษัทฯ มีขั้นตอนในการเก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่างๆ ให้พร้อมต่อการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องและเหมาะสมของรายการทางการเงิน
- ฝ่ายตรวจสอบภายในมีการวางแผนการตรวจสอบตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการตรวจสอบการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชัน และรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อรับทราบเป็นประจำทุกปี
การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
บริษัทฯ จัดทำนโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดหรือข้อร้องเรียนเพื่อให้ความคุ้มครองกับพนักงานและบุคคลภายนอก โดยสามารถดำเนินการแจ้งเบาะแสหรือส่งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย จรรยาบรรณ การคอร์รัปชัน การถูกละเมิดสิทธิไปที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขานุการบริษัท ฝ่ายตรวจสอบภายใน หรือคณะกรรมการตรวจสอบ ของบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ผู้ที่ยื่นเรื่องร้องเรียนจะได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้้ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์กระทำผิดซ้ำ บริษัทจะดำเนินการทบทวนหรือออกมาตรการเพิ่มเติมในกระบวนการทำงานประจำ พร้อมทั้งสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบและนำไปปฏิบัติต่อไป
ในปี 2567 บริษัทฯ ไม่พบกรณีการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย จรรยาบรรณ การคอร์รัปชัน หรือการถูกละเมิดสิทธิใดๆ
กิจกรรมด้านความยั่งยืน
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจกรรมด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม