
การบริหารจัดการสุขอนามัยและความปลอดภัย

ความสำคัญและพันธกิจ
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตระหนักดีว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ที่ดี ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน การทำงานร่วมกันของพนักงานในองค์กร รวมไปถึงประสิทธิภาพของผลงาน สุขภาพทางกายและภาวะทางจิตของพนักงาน อันจะก่อให้เกิดปัญหาความเครียดและความกดดันในที่ทำงานอีกด้วย จึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ให้มีความเหมาะสม ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้องค์กรก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
บริษัทฯ มุ่งมั่นปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) ตลอดจนมุ่งมั่นปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างรอบด้านให้แก่พนักงาน คู่ค้า รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน ป้องกันการเดิกอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริโภค

พนักงาน

คู่ค้า/เจ้าหนี้
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ได้รับรางวัล

แนวทางการบริหารจัดการ
- กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) เพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมา/คู่ค้า ปฏิบัติงานในพื้นที่ขององค์กรด้วยความปลอดภัยและปลอดอุบัติเหตุ
- แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยการกำหนดนโยบาย การจัดอบรม การตรวจสอบและการประเมิน ตลอดจนการสื่อสารปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างรอบด้านให้กับพนักงานและผู้รับเหมา/คู่ค้า
การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อัตราการเสียชีวิต (Fatality Rate)
0
ราย

การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล
1
ราย

ผลการดำเนินงาน (ตัวชี้วัด) | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|
อัตราการเสียชีวิต (Fatality Rate) | 0 ราย | 0 ราย | 0 ราย |
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล (Total Loss time Accident) | 2 ราย | 2 ราย | 1 ราย |
จำนวนชั่วโมง | |||
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล (Total Loss time Accident) | 2 ราย ต่อ 4,320 ชม. การทำงาน |
2 ราย ต่อ 4,320 ชม. การทำงาน |
1 ราย ต่อ 1,000,000 ชม. การทำงาน |
อัตราการเสียชีวิต (Fatality Rate) ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | 0 | 0 | 0 |
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล(Injury Severity Rate = ISR) ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | N/A | N/A | 0.98 |
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล (Total Recordable Injury Rate: TRIR) ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | N/A | N/A | 0.98 |
อัตราการเสียชีวิต (Fatality Rate)
0
ราย

การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล
0
ราย

ผลการดำเนินงาน (ตัวชี้วัด) | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|
อัตราการเสียชีวิต (Fatality Rate) | 0 ราย | 0 ราย | 0 ราย |
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล (Total Loss time Accident) | 0 | 0 | 0 |
จำนวนชั่วโมง | |||
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล (Total Loss time Accident) | 0 ราย ต่อ 4,320 ชม. การทำงาน |
0 ราย ต่อ 4,320 ชม. การทำงาน |
0 ราย ต่อ 1,000,000 ชม. การทำงาน |
อัตราการเสียชีวิต (Fatality Rate) ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | 0 | 0 | 0 |
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล(Injury Severity Rate = ISR) ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | N/A | N/A | 0 |
การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานหรือส่งต่อโรงพยาบาล (Total Recordable Injury Rate: TRIR) ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | N/A | N/A | 0 |
จำนวนการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน
0
ราย

อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ต่อ
1,000,000
ชั่วโมง

ผลการดำเนินงาน (ตัวชี้วัด) | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|
จำนวนการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน | N/A | N/A | 0 ราย |
อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | N/A | N/A | 0 |
จำนวนการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน
0
ราย

อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ต่อ
1,000,000
ชั่วโมง

ผลการดำเนินงาน (ตัวชี้วัด) | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|
จำนวนการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน | N/A | N/A | 0 ราย |
อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ต่อ 1,000,000 ชั่วโมง | N/A | N/A | 0 |
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
บริษัทฯ มีความห่วงใยต่อชีวิตและสุขภาพของพนักงานทุกคน รวมถึงชุมชนรอบข้าง จึงมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดอุบัติเหตุ โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม และปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย เพื่อไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง เพื่อนร่วมงานและชุมชนใกล้เคียง ดังนั้นเราจึงเป้าหมายไว้ว่า “อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์”
บริษัทฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
- บริษัทฯ ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นอันแรก ในทุกๆสถานการณ์ พนักงานทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นอันดับแรก
- บริษัทฯ มีความมุ่งมั่น ป้องกัน อุบัติการณ์ อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากการทำงานทั้งในและนอกงาน
- ทุกคนในองค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยมีหน้าที่รายงานความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงานและต้องช่วยหาแนวทางการป้องกันที่เหมาะสม เพื่อคงสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย และถูกสุขอนามัยแก่พนักงานทุกคน
- บริษัทฯ ให้ความเชื่อมั่นว่า เราจะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านความความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
- บริษัทฯ ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องบุคคลากร เวลา งบประมาณ และการฝึกอบรม รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่กำหนดไว้
- บริษัทฯ ดำเนินการและพัฒนาระบบบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
หลักการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การส่งเสริม (Promotion)
ส่งเสริมและธำรงรักษาสุขภาพ ทั้งร่างกายและ จิตใจของพนักงาน ให้แข็งแรงสมบูรณ์มีความเป็นอยู่ที่ดีอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ประกอบ อาชีพตามสถานะที่พึงมีได้
การป้องกัน (Prevention)
ป้องกันไม่ให้พนักงาน หรือ แรงงาน มีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม หรือเกิดความผิดปกติ เนื่องจากสภาพ หรือสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม
การปกป้องคุ้มครอง (Protection)
คุ้มครองพนักงาน หรือ แรงงานในสถานประกอบการ ไม่ให้มีการกระทำที่เสี่ยงต่ออันตราย หรือการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
การจัดการทำงาน (Placing)
จัดการสภาพแวดล้อมของการทำงานให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความต้องการของร่างกายและจิตใจของพนักงานหรือ แรงงานเท่าที่จะทำได้
การปรับตัว (Adaption)
พิจารณามอบหมายความรับผิดชอบนตามความสามารถและความหมาะสมของพนักงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดทางสรีรวิทยาและพื้นฐานความแตกต่างทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
รางวัลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ในปี 2567 บริษัทฯ ได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน รางวัลนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานขององค์กรที่ให้ความสำคัญและมุ่งปฏิบัติตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะส่งผลให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

กิจกรรมด้านความยั่งยืน
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจกรรมด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม