บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ได้ดำเนินการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีการกำหนดเนื้อหาตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของ GRI Sustainability Reporting Standards

โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ได้ผ่านการพิจารณาตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน ตลอดจนการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
ขั้นที่ 1 ระบุประเด็นที่สำคัญ

บริษัทฯ ระบุประเด็นที่มีความสำคัญด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาจากลักษณะและกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจของ บริษัทฯ ร่วมกับตัวชี้วัดมาตรฐานของ GRI Standard และในอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมถึงเป้าหมายความยั่งยืนขององค์การ สหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ตลอดจนความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก บริษัทฯ โดยการรวบรวมข้อมูลหลากหลายช่องทางจากหน่วยงานของบริษัทฯ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นที่สำคัญนั้น

ขั้นที่ 2 การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

รวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียผ่านการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานของบริษัทฯ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 3 การจัดลำดับประเด็นที่สำคัญ

การจัดลำดับความสำคัญประเด็นด้านความยั่งยืนตามแนวทางปฏิบัติในระบบมาตรฐานที่สำคัญ เช่น ISO14001 และ ISO50001 เป็นต้น โดยพิจารณาความสำคัญแต่ละประเด็น ช่วยให้เห็นภาพและสามารถลำดับความสำคัญ เพื่อรับทราบและเข้าใจผู้มีส่วนได้เสียและกำหนดลงไปในแผนภาพ (Materiality Matrix)

ขั้นที่ 4 การทวนสอบประเด็นที่มีนัยสำคัญ

บริษัทฯ ทวนสอบความครบถ้วนประเด็นที่มีนัยสำคัญ และระบุความสอดคล้องระหว่างประเด็นที่สำคัญกับหมวดการ รายงานของ GRI Standard โดยคณะทำงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Committee) และ นำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนที่ผ่านการทวนสอบแล้วต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน ตลอดจนคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติภายใต้ขอบเขตผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร

แผนภาพแสดงประเด็นที่สำคัญ (Materiality Matrix)

แผนภาพแสดงประเด็นที่สำคัญ
มิติสิ่งแวดล้อม
3

การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6

การบริหารจัดการขยะของเสียจากกระบวนการผลิต

8

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต

11

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

12

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

18

การบริหารจัดการพลังงาน


มิติสังคม
1

คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

4

ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

9

การดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

10

การพัฒนาและรักษาบุคลากร

14

การตลาดและการสื่อสารอย่างรับผิดชอบ

15

การส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี

16

สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม

19

การส่งเสริมคุณค่าและประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้สังคม


มิติการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ
2

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

5

การต่อต้านคอร์รัปชันและความโปร่งใส

7

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

13

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

17

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

20

การส่งเสริมคู่ค้าและความร่วมมือทางธุรกิจ