
การจัดการทรัพยากร และการป้องกันมลพิษและของเสีย

ความสำคัญและพันธกิจ
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถูกมองจากผู้บริโภคว่าเป็นธุรกิจที่มีอัตราการใช้ขยะพลาสติกค่อนข้างสูง และส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single Use Plastics) ถือเป็นสาเหตุสำคัญของการก่อให้เกิดขยะและของเสียที่ย่อยสลายยากและทำลายธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนห่วงโซ่อาหารของมนุษย์
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญและพยายามเป็นส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะอย่างเร่งด่วนมาโดยตลอด จึงมุ่งมั่นลดอัตราการเกิดขยะและของเสีย ณ แหล่งกำเนิด โดยใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรการผลิตอย่างจำกัดและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสอดคล้องตามหลักการ 3Rs (Reduction, Reuse, and Recycling) มีการจำแนกและคัดแยกขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนส่งเสริมการบริหารจัดการขยะและของเสียตามแนวคิด “ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)” เน้นการลดปริมาณขยะที่ส่งเข้าสู่กระบวนการฝังกลบให้น้อยที่สุด ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกบริสุทธิ์ (Virgin Plastic) โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสอดคล้องตามเป้าหมายความยั่งยืนระดับองค์กร คือ บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถรีไซเคิลได้ 100%
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริโภค

พนักงาน

สังคมและชุมชน

คู่ค้า/เจ้าหนี้
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ลดปริมาณขยะและของเสียไม่อันตราย ได้ถึง



ลดปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์ (Virgin Plastic) จากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกและการรีไซเคิลฟิล์มพลาสติก

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดใช้พลาสติกรวม

ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เก็บกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ตามโครงการความร่วมมือระหว่าง ICHITAN กับ PTT GC จำนวน

แนวทางการบริหารจัดการ
- กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการขยะและของเสียจากกระบวนการผลิต ให้สอดคล้องกับข้อบังคับ ข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะฝังกลบและขยะบรรจุภัณฑ์ของกรมโรงงานและหน่วยงานภาครัฐ
- ดำเนินงานภายใต้หลักการ 3Rs คือ การลด (Reduction) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) ตามแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)” เพื่อลดการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นในกระบวนการผลิต ลดปริมาณขยะและของเสียที่ถูกส่งไปกำจัด หรือ ฝังกลบ
- ลดการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ โดยส่งต่อขยะอาหารต่อให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงที่เลี้ยงปลา หรือ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อลดปริมาณการทิ้งขยะอาหารอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ
- สร้างเครือข่ายความร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน โดยการลดน้ำหนักปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ (Virgin Plastic Preform) แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของการใช้งาน เพื่อยกระดับการจัดการขยะและของเสียจากกระบวนการผลิต
- เก็บกลับบรรจุภัณฑ์จากผู้บริโภคปลายทางร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจทั่วประเทศผ่านโครงการต่างๆ ให้เกิดการจำแนกและคัดแยกขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบ
- รณรงค์ส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและของเสียและบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคลากรภายในองค์กร พร้อมทั้งสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ทุกฝ่ายให้เกิดการมีส่วนร่วมต่อไปในอนาคต
การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ข้อมูลปริมาณการเกิดขยะและของเสียรวม
ปี 2565

ปี 2566

ปี 2567

(หน่วย: ตัน)
ปริมาณขยะและของเสีย | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|
ปริมาณการเกิดขยะและของเสียอันตราย | - | 13.74 | 27.34 |
ปริมาณการเกิดขยะและของเสียไม่อันตราย | 2,508.76 | 2,211.73 | 2,332.04 |
รวม | 2,508.76 | 2,225.47 | 2,359.38 |
ข้อมูลปริมาณขยะและของเสียไม่อันตราย จำแนกตามประเภทวัสดุ
ปริมาณขยะและของเสียปี 2567


พลาสติก
138.17 ตัน
สัดส่วน 5.92%

กระดาษ
337.34 ตัน
สัดส่วน 14.47%

ไม้
22.25 ตัน
สัดส่วน 0.95%

กากชา
1,779 ตัน
สสัดส่วน 76.29%

ขยะมูลฝอย
36.75 ตัน
สัดส่วน 1.58%

อื่นๆ
18.53 ตัน
สัดส่วน 0.79%
(หน่วย: ตัน)
ปริมาณขยะและของเสีย | ปี 2567 | สัดส่วน |
---|---|---|
พลาสติก | 138.17 | 5.92 % |
กระดาษ | 337.34 | 14.47 % |
ไม้ | 22.25 | 0.95 % |
กากชา | 1,779.00 | 76.29 % |
ขยะมูลฝอย | 36.75 | 1.58 % |
อื่นๆ | 18.53 | 0.79 % |
รวม | 2,332.04 | 100.00% |
เป้าหมาย ปี 2567
ลดปริมาณขยะและของเสียไม่อันตราย
ร้อยละ 80
ของปริมาณการเกิดขยะและของเสียทั้งหมด

ผลการดำเนินงาน
ลดปริมาณขยะและของเสียไม่อันตราย
2,017.47 ตันต่อปี
คิดเป็นร้อยละ 89.29
