
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน

ความสำคัญและพันธกิจ
“สิทธิมนุษยชน” ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ประชาคมทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะเป็นหนึ่งในสาหตุที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำทางสังคมในอนาคต ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “มนุษย์” ในทุกกิจกรรมดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งมั่นที่แก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์การสหประชาชาติจึงได้ชี้แนะหลักการว่าด้วยการดําเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับภาคธุรกิจในการป้องกันผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ชุมชนท้องถิ่น และสังคม ฯลฯ) ยึดมั่นและเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนโดยกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหหมายท้องถิ่น กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงมาตรฐานสากล อาทิ หลักการของสหประชาชาติว่าด้วยการดําเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGP) ปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้ง ส่งเสริมให้พนักงานเกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจในเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชน
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

พนักงาน

สังคมและชุมชน
เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ในระดับ



ในปี 2567 บริษัทฯ

ในปี 2567 บริษัทฯ ได้รับคะแนนผลความผูกพันของพนักงานอยู่ที่


แนวทางการบริหารจัดการ
กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ
ด้วยความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ความมั่นใจว่าบริษัทฯ จะปฏิบัติต่อกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม สอดคล้องตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยการดําเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) รวมทั้งกฎหหมายแรงงานท้องถิ่น กฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากลครอบคลุุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินธุรกิจขององค์กร พร้อมจัดทำมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงกระบวนการคุ้มครองและเยียวยาเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว
การส่งเสริมสวัสดิการและกิจกรรมภายในองค์กร
จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างพนักงานและฝ่ายจัดการขององค์กร สนับสนุนการมีส่วนร่วมของพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็น และข้อร้องเรียน รวมถึงจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานภายในองค์กร
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับได้รับความรู้และการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดทำแผนฝึกอบรมประจำปี รวมถึงโครงการพัฒนาศักยภาพพนักงานต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อยกระดับขีดความสามารถของพนักงานและเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงาน สนับสนุนความก้าวหน้าในทุกสายอาชีพ
การสื่อสารภายในองค์กร
มีการสื่อสารและส่งเสริมตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมให้กับพนักงานทุกระดับในองค์กรได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ
กระบวนการรับแจ้งเบาะแสและการเยียวยา
จัดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนจากทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อพบเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานที่ไม่เป็นธรรม
การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ความหลากหลายทางเพศ
ความหลากหลายทางเพศ | ทั้งหมด (ราย) |
---|---|
จำนวนพนักงานทั้งหมด | 401 |
จำนวนพนักงานหญิง | 122 |
จำนวนพนักงานชาย | 279 |
ความหลากหลายทางอายุ
ช่วงอายุ | หญิง (ราย) | ชาย (ราย) |
---|---|---|
จำนวนพนักงานอายุน้อยกว่า 30 ปี | 38 | 117 |
จำนวนพนักงานอายุ 30-50 ปี | 83 | 149 |
จำนวนพนักงานอายุมากกว่า 50 ปี | 1 | 13 |
ความหลากหลายทางศาสนา
ศาสนา | หญิง (ราย) | ชาย (ราย) |
---|---|---|
พุทธ | 121 | 268 |
คริสต์ | - | 3 |
อิสลาม | 1 | 8 |
ไม่เปิดเผย | - | - |
การจำแนกบุคลากรตามระดับตำแหน่ง
ผู้บริหารระดับสูง

พนักงานระดับบริหาร

พนักงานระดับปฏิบัติการ

ระดับตำแหน่ง | หญิง (ราย) | ชาย (ราย) |
---|---|---|
ผู้บริหารระดับสูง | 3 | 7 |
พนักงานระดับบริหาร | 20 | 15 |
พนักงานระดับปฏิบัติการ | 99 | 257 |

จำนวนพนักงานใหม่
51
คน

จำนวนการจ้างงานผู้พิการ
2
คน

อัตราการลาออกของพนักงานทั้งหมด
ร้อยละ 0.84

อัตราค่าตอบแทนพนักงาน หญิง ต่อ ชาย
1.23
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพนักงาน
จำนวน 1,078,391.58
บาท/ปี

จำนวนชั่วโมงอบรม เฉลี่ยต่อปี
12
ชม. /คน

คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี จึงกำกับให้มี “นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน” ให้สอดคล้องตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยการดําเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) รวมทั้งกฎหมายแรงงานท้องถิ่น กฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากลอื่น ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม เคารพในสิทธิและความเสมอภาค โดยไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนพึงจะได้รับ ทั้งนี้ นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนได้มีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กรในปัจจุบัน พร้อมติดตามรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืนและคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ทบทวนกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRDD) จากกิจกรรมดำเนินงานขององค์กรที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) โดยดำเนินการตรวจสอบอย่างเป็นระบบเป็นประจำทุก 2 ปี ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนกระบวนการ เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน จัดทำมาตรการบริหารความเสี่ยงและบรรเทาผลกระทบให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
บริษัทฯ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผลกระทบด้านลบอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมจากการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมอื่นๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวครอบคลุมร้อยละ 100 ของพื้นที่การดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยมีขอบเขตครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าและกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร เช่น การจัดหาวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การกระจายสินค้า การตลาดและการขาย เป็นต้น และประกอบไปด้วย 4 กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 12 ประเด็น ดังนี้
พนักงาน
สภาพการทำงาน
สุขภาพและความปลอดภัย
เสรีภาพในการสมาคมการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง
การเลือกปฏิบัติ / การล่วงละเมิด
รูปแบบการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน
ลูกค้า
สุขภาพและความปลอดภัย
ข้อมูลความเป็นส่วนตัว
คู่ค้า/ผู้รับเหมา
สภาพการทำงาน
สุขภาพและความปลอดภัย
การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้าและผู้รับเหมา
ชุมชน
สุขภาพและความปลอดภัย
ในปี 2567 บริษัทฯ ดำเนินการประเมินผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
โดยการประเมินดังกล่าวคำนึงถึงกลุ่ม เปราะบางที่อาจมีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ พนักงาน เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ แรงงานในสัญญาจ้างโดยบุคคลที่สาม และชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น
จากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรทั้ง 12 ประเด็น บริษัทฯ ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน หากมีความเสี่ยงเกิดขึ้น ดังนี้

สิทธิพนักงาน
ประเด็นความเสี่ยง
- สภาพการทำงาน
- สุขภาพและความปลอดภัย
- เสรีภาพในการสมาคมการรวมกลุ่ม/เจรจาต่อรอง
- การเลือกปฏิบัติ / การล่วงละเมิด
- รูปแบบการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย
- การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน
ผลกระทบ
- การเลือกปฎิบัติในการจ้างงาน การใช้แรงงานบังคับ
- การใช้แรงงานแรงงานเด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์
- อัตราการลาออกของพนักงานสูงขึ้น
- พนักงานได้รับสิทธิสวัสดิการที่แตกต่างกันไป
- อันตรายจากเครื่องจักร/การสัมผัสสารเคมี
- การใช้ จัดเก็บ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสม
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ด้านการปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและมีมนุษยธรรม
- ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด
- ดำเนินธุรกิจโดยไม่ใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ
- ปราศจากการใช้แรงงานเด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด
- การจัดสวัสดิการพนักงานให้เหมาะสม ผ่านการประชุมคณะกรรมการ สวัสดิการฯ
ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- ปฎิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัยฯ และตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน
- จัดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยงเป็นประจำทุกปี
- มีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ในการทำงาน
ด้านข้อมูลส่วนบุคคล
- ปฎิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- มีการประชุมคณะทำงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
- ดำเนินการตามข้อกำหนด ISO 27001 อย่างเคร่งครัด

สิทธิลูกค้า
ประเด็นความเสี่ยง
- สุขภาพและความปลอดภัย
- ข้อมูลความเป็นส่วนตัว
ผลกระทบ
- สิทธิในความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย
- สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
- สิทธิความเป็นส่วนตัว
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ด้านการคุ้มครองสิทธิของลูกค้า
- มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนลูกค้าผ่าน Call Center (ตรวจสอบ แก้ไข ติดตามข้อร้องเรียน)
- อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการ
- รับประกันความเสียหายจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้กับลูกค้า เมื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงแล้ว
ด้านข้อมูลส่วนบุคคล
- มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและไม่เผยแพร่ต่อบุคคลที่สาม

สิทธิคู่ค้า / ผู้รับเหมา
ประเด็นความเสี่ยง
- สภาพการทำงาน
- สุขภาพและความปลอดภัย
- การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้าและผู้รับเหมา
ผลกระทบ
- สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
- สิทธิในคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- ปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย
- จัดให้มีการฝึกอบรมและปฏิบัติตามระเบียบปฏิปติเกี่ยวกับความปลอดกัยในการทำงาน
- จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลพื้นฐานและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ตามความเสี่ยง
ด้านอาชีวอนามัย
- จัดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยงเป็นประจำทุกปี
- มีการตรวจดวัดสุขภาพพื้นฐานก่อนการทำงานประจำวัน

สิทธิชุมชน
ประเด็นความเสี่ยง
- สุขภาพและความปลอดภัย
ผลกระทบ
- สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
- สิทธิในคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ดำเนินโครงการ Green Industry: level 5
ด้านการสื่อสารและความปลอดภัย
- มีช่องทางในการสื่อสาร/สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบโรงงาน
ทั้งนี้ ภายหลังการประเมินผลระดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ดำเนินการจัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบและการเยียวยา ตลอดจนรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปี รวมถึงสื่อสารและสร้างความตระหนักรู้สำหรับแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียม ผ่านการจัดกิจกรรม บอร์ดประชาสัมพันธ์ และเว็บไซต์ภายในขององค์กร
บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีกระบวนการเยียวยาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมขององค์กรอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ จะดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานอย่างต่อเนื่องตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะได้รับการชดเชยอย่างเหมาะสม เช่น การแสดงความขอโทษ การฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้เสียหาย การให้ความช่วยเหลือหลังเกิดเหตุการณ์ การชดเชยในทั้งในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน หรือ ที่มิใช่เป็นตัวเงิน การลงโทษ และการป้องกันอันตราย เช่น คำสั่งห้าม หรือการรับประกันไม่ให้เกิดกรณีซ้ำ เป็นต้น ตลอดจนมีการดำเนินการลดหรือบรรเทาผลกระทบให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อควบคุมความเสียหายและป้องกันกรณีการเกิดซ้ำ
ในปี 2567 บริษัทฯ
ไม่พบกรณีการละเมิดสิทธิ มนุษยชน
จึงไม่มีกรณีการเยียวยาเกิดขึ้น

บริษัทฯ ดำเนินการปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้รับทราบผ่านทางระบบการสื่อสารภายในขององค์กร (Intranet) และรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ตลอดจนการส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ภายใต้โครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน สำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 3) และสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับได้เรียนรู้ในหลักสูตรพื้นฐานกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอีกด้วย
ทั้งนี้ ในปี 2567 บริษัทฯ ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ในระดับ “ดีเด่น” จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนให้กับองค์กรอื่นๆ ในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ได้และประโยชน์ที่ได้รับ:
บริษัทฯ เคารพและปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม สอดคล้องตามปฏิญาณว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองในสภาพการทำงาน สุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างโดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
การจ้างงาน
บริษัทฯ มีนโยบายพิจารณาว่าจ้างพนักงานอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ตามความเหมาะสมทั้งด้านความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ทัศนคติ และความประพฤติ จัดให้มีกระบวนการคัดเลือกอย่างเป็นระบบทั้งในรูปแบบข้อสอบข้อเขียน การทดสอบต่างๆ และการสัมภาษณ์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด ยืนยันความเสมอภาคทางโอกาส และไม่นําความชอบของบุคคล ความคิดเห็นทางการเมือง อายุ หรือความทุพพลภาพ มาเป็นปัจจัยในการพิจารณาและตัดสินใจในการจ้างงาน
- การจ้างงานผู้ด้อยโอกาส / กลุ่มเปราะบาง (ผู้พิการ)
ในปี 2567 บริษัทฯ มีการว่าจ้างผู้พิการเข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทฯ ตามลักษณะงาน จำนวน 2 คน และได้อุปการะเลี้ยงดูผู้พิการที่มิได้เป็นพนักงานประจำอีกจำนวน 2 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีโอกาสแสดงความสามารถอันก่อให้เกิดรายได้เลี้ยงชีพด้วยตนเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและสังคมที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู พร้อมทั้งดำเนินการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 33 และมาตรา 35 อย่างครบถ้วน และทันเวลาตามที่กฎหมายกำหนด


การไม่สนับสนุนการจ้างแรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย และการใช้แรงงานบังคับ
บริษัทฯ ไม่มีการจ้างแรงงานเด็กที่ผิดกฎหมายแรงงานที่ถูกบังคับ หรือแรงงานทาส ยกเว้นแต่ในกรณีที่การจ้างงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอายุ ชั่วโมงการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทนสุขภาพ และความปลอดภัย
การจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงาน ในรูปแบบเงินเดือนอย่างยุติธรรม สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและอัตราค่าจ้างซึ่งเทียบเคียงได้กับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน กำหนดให้มีนโยบายการแต่งตั้ง โยกย้าย รวมถึงให้รางวัลจูงใจ ตามความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงการจัดให้มีสวัสดิการอื่นๆ อย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมให้พนักงานและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น พนักงานสามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้พนักงานมีการเก็บออมเพื่ออนาคตผ่านกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอย่างสม่ำเสมอ
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประเมินผลการปฎิบัติงานอย่างเป็นธรรมด้วยแนวทางการวัดผลแบบบูรณาการ ซึ่งได้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงาน ปีละ 1 ครั้ง โดยแบ่งองค์ประกอบของการประเมินออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การประเมินผลตามความสำเร็จของงาน (Key Performance Index: KPI) และการประเมินผลตามโครงการความร่วมมือ หรือ คณะทำงาน เพื่อนำผลที่ได้ไปพิจารณาเรื่องการปรับเงินเดือนประจำปี การให้โบนัสประจำปีแก่พนักงาน รวมถึงนำผลมาพิจารณาเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพ ทั้งนี้ ผลการประเมินที่ได้จะนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในระดับบุคคล และการบริหารทีมแบบองค์รวม เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิผลขององค์กรให้เติบโตไปพร้อมกับความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานต่อไป
บริษัทฯ ได้นำผลประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดโครงการฝึกอบรมหรือพัฒนาศักยภาพหรือส่งเสริมความรู้ของพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) พนักงานที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี จะได้เข้าโปรแกรมเฉพาะ เช่น Talent Management เป็นต้น 2) พนักงานที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จะได้เข้าโปรแกรมตามแผนฝึกอบรมประจำปีของทางบริษัท 3) พนักงานที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง จะได้เข้าโปรแกรม Performance Improvement Plan: PIP เพื่อให้ผลงานกลับมาอยู่ในระดับที่บริษัทคาดหวัง PIP จึงเป็นเครื่องมือในการช่วยให้พนักงานพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างโอกาสในการสร้างผลงานที่บริษัทต้องการอีกครั้ง
- หลักเกณฑ์ในการประเมิน
1. การประเมินผลตามความสำเร็จของงาน บริษัทฯ มีระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System) ในการบริหารจัดการการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในองค์กรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และเป้าหมายองค์กรร่วมกัน ในช่วงต้นปี บริษัทฯ มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จส่วนบุคคล (Individual KPI) ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างพนักงานและหัวหน้างานในแต่ละสายงาน เพื่อกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย และค่าน้ำหนักตัวชี้วัด ทั้งนี้ KPI ดังกล่าวสามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ในระหว่างปีขึ้นอยู่กับทิศทางการดำเนินธุรกิจของค์กร โดยจะต้องให้สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดความสำเร็จขององค์กร (Corporate KPI)
2. การประเมินผลตามโครงการความร่วมมือ หรือ คณะทำงานเพื่อส่งเสริมเป้าหมายและความสำเร็จของทีมแบบข้ามสายงาน เพื่อสนับสนุนรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการความร่วมมือ หรือ คณะทำงาน (Collaboration Projects / Working Group) โดยกำหนดเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกได้อย่างรวดเร็ว ทันกาล และมีลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งในดัชนีชี้วัดความสำเร็จของทีมที่สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดความสำเร็จขององค์กรด้วย
การวัดผลลัพธ์
บริษัทฯ ได้กำหนดระดับผลการประเมิน ให้จัดกลุ่มคะแนนผลการการประเมิน เป็น 5 ระดับ ดังนี้
- ระดับ 5 = ดีเยี่ยม (Excellent)
- ระดับ 4 = ดีมาก (Very Good)
- ระดับ 3 = ตามมาตรฐาน (Medium)
- ระดับ 2 = พอใช้ (Fair)
- ระดับ 1 = ปรับปรุง (Need Improvement)
ร้อยละ 100
ของพนักงานผ่านการประเมิน ผลการปฏิบัติงาน (KPI)

การพัฒนาและรักษาบุคลากร
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการดูแลพนักงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นมากกว่าคำว่า “พนักงาน” เน้นการพัฒนาให้พนักงานมีสมรรถนะทางด้านความรู้ (Knowledge Competency) สมรรถนะทางด้านทักษะ (Skill Competency) และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ (Attributes Competency) โดยมีนโยบายพัฒนาพนักงานเพื่อฝึกฝนทักษะ และเพิ่มพูนศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีการเรียนรู้และเลื่อนตําแหน่ง เพื่อความก้าวหน้าในการทํางานเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้หญิงได้ขึ้นสู่ตําแหน่งงานที่สูงขึ้นในสัดส่วนที่สมดุลกับผู้ชายได้มากยิ่งขึ้น เริ่มจากกระบวนการจัดทำแบบสำรวจการฝึกอบรมพื้นฐาน (Training Need) การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม และจัดทำแผนการฝึกอบรมประจำปี (ICHITAN Training Plan Year) เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยกำหนดความต้องการด้านการฝึกอบรมของบุคลากรตามตำแหน่งงาน รวมไปถึงหลักสูตรที่ช่วยในการพัฒนาความสามารถในการปฎิบัติงานตามรูปแบบการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทฯ จึงสามารถอำนวยความสะดวกในการจัดอบรมให้กับพนักงานได้ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเวลาให้มีคุณภาพมากขึ้น
ในปี 2567 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพนักงาน จำนวน
1,078,391.58
บาท/ปี

จำนวนชั่วโมงอบรม เฉลี่ยต่อปี (ชม.)
12
ชม. /คน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ออกแบบและพัฒนาโครงการต่างๆ ขึ้นภายในองค์กร เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กับพนักงาน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางความคิดให้พนักงานเกิดไอเดียและแรงจูงใจใหม่ๆ ในการพัฒนางาน หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางาน สอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาบุคลากรขององค์กร มุ่งเน้นส่งเสริมการทํางานเป็นทีมและสร้างภาวะผู้นําในตัวพนักงานให้สามารถดําเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ตลอดจนวางแนวทางการดูแลพนักงานที่มีศักยภาพเพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ผันผวนและมีการแข่งขันค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดทำแผนฝึกอบรมประจำปี แจ้งวัตถุประสงค์ของแต่ละหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรและสอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมาย โดยได้มีการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ในระบบ Intranet และบอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในขององค์กร เป็นต้น
เป้าหมาย ในปี 2567
ร้อยละ 80
ของพนักงานที่ต้องเข้าอบรม ตามหลักสูตรที่กำหนด

ผลลัพธ์ ในปี 2567
ร้อยละ 87.67
ของพนักงานเข้าร่วมอบรม ตามหลักสูตรที่กำหนด

สวัสดิการพนักงาน
บริษัทฯ ส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวพนักงานให้มีความสุขและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เพื่อให้พนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เกิดวัฒนธรรมองค์กร เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีเป็นพลังบวกในการทำงานร่วมกับองค์กร ในปี 2567 บริษัทฯ มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ และการสร้างความสัมพันธ์ให้กับพนักงานโดยคณะกรรมสวัสดิการในสถานประกอบการ
การสื่อสารภายในองค์กร
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสื่อสารนโยบายและทิศทางองค์กรลงสู่ระดับปฏิบัติอย่างเท่าเทียม โดยมีการประชุมร่วมกับพนักงานทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างสม่ำเสมอผ่านทางระบบ Intranet และสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร โดยเฉพาะเมื่อมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพื่อให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม และสามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
การสร้างความผูกพันภายในองค์กร
บริษัทฯ สร้างความผูกพันกับพนักงานในองค์กรซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานกับองค์กรเป็นประจำทุกเดือน พร้อมส่งมอบความรักความอบอุ่นให้กับพนักงานทุกระดับ
จากผลสำรวจในปี 2567 พบว่าพนักงานส่วนใหญ่ภูมิใจกับงานที่ทำและมองว่างานที่ได้รับผิดชอบสำคัญต่อองค์กร ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจากการสื่อสารเป้าหมายองค์กรที่ครอบคลุมถึงพนักงานทุกระดับ ตลอดจนมีการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ประกอบกับมีบรรยากาศการทำงานที่เหมาะสม
บริษัทฯ สื่อสารผลการสำรวจความผูกผันของพนักงาน (Engagement Survey) ให้พนักงานรับทราบผ่านทางอีเมล พร้อมนำผลคะแนนดังกล่าวมาปรับปรุง พัฒนา กระบวนการทำงาน เช่น การเพิ่มบรรยากาศในการทำงาน ด้วยการจัดประกวดโครงการความร่วมมือ (Collaboration Project Contest 2024) เพื่อให้พนักงานแต่ละแผนกนำเสนอไอเดียที่มีประโยชน์ต่อองค์กร สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สนุกสนานยิ่งขึ้น ตอบสนองต่อเป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กร

ในปี 2567 ผลคะแนนความผูกพันของพนักงานอยู่ที่
ร้อยละ 87

กระบวนการร้องทุกข์และการลงโทษทางวินัย
บริษัทฯ มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนซึ่งพนักงานสามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนได้ตามช่องทางที่ระบุไว้ใน “นโยบายแจ้งเบาะแสการกระทำผิดหรือข้อร้องเรียน” โดยให้พนักงานที่รู้สึกว่าตนมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกข่มเหง การถูกเลือกปฏิบัติ การถูกละเมิดสิทธิ หรือตกเป็นเหยื่อของผู้อื่นมีสิทธิร้องเรียนปัญหาตามกระบวนการร้องเรียนได้ หรืออาจส่งมาที่กล่องรับความคิดเห็น หรือปรึกษาโดยตรงได้ที่หัวหน้างานแต่ละสายงาน
บริษัทฯ มีมาตรการคุ้มครองสิทธิและรักษาความลับของผู้ร้องเรียนและผู้ให้เบาะแสที่กระทำโดยเจตนาสุจริต โดยจะปกป้องชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นใดที่สามารถระบุตัวตนของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแสได้ รวมถึงจำกัดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าวในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อเรียนมีหน้าที่ต้องรักษาความลับของข้อมูลและเอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแส ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฏหมายกำหนด
การลงโทษทางวินัย หากพนักงานหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ พนักงานจะได้รับคำตักเตือนจากผู้บังคับบัญชาโดยใช้หลักในการปกครองเบื้องต้น ซึ่งบริษัทฯ จะไม่บังคับใช้การลงโทษ บังคับข่มเหงทางร่างกายและจิตใจ หรือการละเมิดทางวาจาต่อพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ การลงโทษหนักเบาขึ้นอยู่กับชนิดของการกระทำผิดและเจตนา ผลของการกระทำและคุณงามความดีในอดีต โดยมีขั้นตอนทางวินัยตามลำดับ และหากมีให้ออกจากงานบริษัทฯ จะชดเชยตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด
กิจกรรมด้านความยั่งยืน
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจกรรมด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม