ความสำคัญและพันธกิจ

บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดําเนินธุรกิจในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มซึ่งมี “น้ำ” เป็นปัจจัยหลักในการผลิต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม ครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ การลดปริมาณการใช้น้ำ การพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง ตลอดจนการนําน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ตามหลักการ 3Rs (Reduce Reuse Recycle) อีกทั้งเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้บริหารและพนักงานในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบ หรือ ความเสี่ยงจากการใช้น้ำ มีการติดตามเฝ้าระวังระดับปริมาณน้ำดิบในแต่ละเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าการดําเนินงานขององค์กรจะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคน้ำของชุมชนบริเวณโดยรอบโรงงาน

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้บริโภค
พนักงาน
สังคมและชุมชน

เป้าหมายและผลการดำเนินงานที่สำคัญ

เป้าหมาย
ลดปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต
ร้อยละ 5
ภายในปี 2567
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิตได้
394,436
ลูกบาศก์เมตร
คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 5.53

แนวทางการบริหารจัดการ

  1. บริษัทฯ ให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ โดยมีการติดตามข้อมูลอ้างอิงปริมาณน้ำจากสวน อุตสาหกรรมโรจนะเพื่อประเมินสถานการณ์ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปริมาณหรือคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาครอบคลุมในช่วงฤดูฝน 6 เดือน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม) และฤดูแล้ง 6 เดือน (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน) เพื่อกําหนดแนวทางป้องกันและแก้ไข เช่น วิกฤติภัยแล้ง หรือน้ำท่วม เป็นต้น ทั้งนี้ มีกําหนดการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และซ้อมแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สําหรับเตรียมความพร้อมไว้รองรับสถานการณ์อุทกภัยอย่างเป็นระบบ และลดความสูญเสียที่เกิดจากอุทกภัยให้เหลือน้อยที่สุด
  2. ติดตั้งถังสำรองน้ำใช้ภายในพื้นที่บริษัทฯ บริษัทฯได้ติดตั้งถังสำรองน้ำใช้ภายในโรงงานเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน กรณีระบบจ่ายน้ำของสวนอุตสาหกรรมมีปัญหา จำนวนน้ำที่สำรองไว้ในพื้นที่บริษัทฯ จำนวน 8,500.00 ลูกบาศก์เมตร
  3. การติดตามความเสี่ยงที่มีต่อบริษัทฯ และชุมชนท้องถิ่น และจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยการติดตามปริมาณการใช้น้ำขององค์กร เพื่อหามาตรการประหยัดน้ำในองค์กรตามหลัก 3Rs (Reduce Reuse Recycle)
  4. การประเมินคุณภาพน้ำดีที่นํามาใช้ในกระบวนการผลิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ได้แก่ การวิเคราะห์การปนเปื้อนของโลหะ การวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา การวิเคราะห์คุณลักษณะน้ำ เช่น สี ความเป็นกรดด่าง แร่ธาตุในน้ำ ในการวิเคราะห์ผลประจําวันเพื่อรักษาคุณภาพน้ำและความปลอดภัยในการผลิตให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
  5. มีการติดตามปริมาณการใช้งานน้ำเพื่อควบคุมต้นทุนในการผลิต และลดปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต โดยการกําหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicator: KPIs) ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณการใช้น้ำ ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุม
  6. มีการประเมินคุณภาพของน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต ด้วยการควบคุมค่าน้ำเสียให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะกําหนด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน รวมทั้ง สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับองค์กร
  7. การบําบัดน้ำเสียด้วยระบบบําบัดน้ำทางชีวภาพแบบไร้อากาศ (Anaerobic Wastewater Treatment) ถือเป็น กระบวนการบําบัดน้ำเสียในสภาวะไร้ออกซิเจน โดยจุลินทรีย์จะอาศัยสารประกอบอื่นเป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจน ละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) หรือออกซิเจนอิสระ เพื่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ให้ตกตะกอน และจะผ่าน เข้าสู่ระบบบําบัดสี ซึ่งก่อนปล่อยน้ำทิ้งออกจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียก่อนปล่อยออกไปสู่ระบบบําบัดนน้ำเสีย ส่วนกลางของสวนอุตสาหกรรมโรจนะ
  8. ส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้แก่พนักงาน เพื่อประหยัดทรัพยากรน้ำ และลดปัญหาการปล่อยน้ำเสียออกสู่ภายนอก
การประเมินความเสี่ยงจากการใช้น้ำ

ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่ทําให้การดําเนินธุรกิจของ ทุกภาคส่วนเริ่มตื่นตัว และให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ ทรัพยากร "น้ำ" ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สําคัญต่อการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก การสร้างความมั่นคงด้านน้ำจึงต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล เพื่อดํารงไว้ซึ่งระบบห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืน ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการดึงน้ำประปาจากสวนอุตสาหกรรมโรจนะเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78 ของปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ชุมชนบริเวณโดยรอบโรงงาน อิชิตัน กรีน แฟคทอรี่ บริษัทฯ จึงมีการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว

บริษัทฯ ได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการประเมินความเสี่ยงพื้นที่ที่มี “ความเครียดน้ำ” (Water Stress) ด้วยเครื่องมือ Aqueduct ของ World Resource Institution ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงแบบเจาะจงพื้นที่ จากผลการประเมินพบว่า โรงงาน อิชิตัน กรีน แฟคทอรี่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับสูงมาก (Extremely High)

บริษัทฯ จึงได้วางแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่การติดตามข้อมูลการรายงานสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด จัดทำแผนลดการใช้น้ำ และแผนรับมือกับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ตลอดจนดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกับชุมชนในพื้นที่บริเวณที่ตั้งโรงงาน เพื่อสนับสนุนการลดการใช้น้ำอย่างเหมาะสม

การประเมินความเสี่ยงจากการใช้น้ำ
การดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด จำแนกตามแหล่งที่มา

ปริมาณน้ำประปาที่องค์กรใช้ในการผลิต

(หน่วย: ลูกบาศก์เมตร)

ปริมาณน้ำประปาที่องค์กรใช้ในการผลิต

น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำทั้งหมด

(หน่วย: ลูกบาศก์เมตร)

น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำทั้งหมด

(หน่วย: ลูกบาศก์เมตร)

ผลการดำเนินงาน ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
ปริมาณน้ำประปาที่องค์กรใช้ในการผลิต (จากแหล่งภายนอก) 1,567,679 1,802,772 1,801,049
ผลการดำเนินงาน

(หน่วย: ลูกบาศก์เมตรต่อหน่วยการผลิต)

อัตราการใช้น้ำประปาต่อหน่วยการผลิต
อัตราการใช้น้ำประปาต่อหน่วยการผลิต

(หน่วย: ลูกบาศก์เมตรต่อหน่วยการผลิต)

ผลการดำเนินงาน ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
อัตราการใช้น้ำประปาต่อหน่วยการผลิต 5.1540 4.9573 4.6829
ข้อมูลปริมาณการลดการใช้น้ำ

น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ และใช้ซ้ำทั้งหมด

(หน่วย: ลูกบาศก์เมตร)

น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ และใช้ซ้ำทั้งหมด

อัตราการลดการใช้ทรัพยากรน้ำประปา

(หน่วย: ร้อยละ)

อัตราการลดการใช้ทรัพยากรน้ำประปา

ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

(หน่วย: ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
ผลการดําเนินงาน ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ และใช้ซ้ำทั้งหมด (ลูกบาศก์เมตร) 260,703 382,016 394,436
อัตราการลดการใช้ทรัพยากรน้ำประปา (ร้อยละ) 11.7900 3.8166 5.5338
ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) 141.04 206.67 213.39